คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมเฉพาะกิจในพระเมรุจากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์. งานพระเมรุ ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2560.

วรินทร์ รวมสำราญ

ประเภทผลงาน: ผลงานสร้างสรรค์
แหล่งทุน: ทุนส่วนตัว
จำนวนเงินทุน: -
การเผยแพร่ผลงาน: หนังสือ นำเสนอแสดงแนวคิด และระเบียบวิธีการศึกษา โดยการพิมพ์เผยแพร่เป็นบทความพิเศษ ในหนังสือศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ “งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2560.” ISBN : 978-974-02-1576-9
วันที่เผยแพร่: -
ระดับการเผยแพร่: -
ลิงก์ข้อมูล: -
ฐานข้อมูล: วรินทร์ รวมสำราญ. (2560)กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมเฉพาะกิจในพระเมรุจากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์. งานพระ เมรุ ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2560. ISBN : 978-974-02-1576-9
รายนามร่วม:
กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมเฉพาะกิจในพระเมรุจากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์. งานพระเมรุ ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2560.

แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน / บทคัดย่อ

นำเสนอแสดงแนวคิด และระเบียบวิธีการศึกษา โดยการพิมพ์เผยแพร่เป็นบทความพิเศษ ในหนังสือศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ “งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๐.”

ลักษณะของผลงานสร้างสรรค์ เป็นผลงานสร้างสรรค์ด้านสุนทรียะ ศิลปะ ในลักษณะ การสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยเฉพาะกิจชั้นสูง ที่มีเป็นอาคารชั่วคราวก่อสร้างและรื้อถอนเร็ว จึงมิหลงเหลืออาคารพระเมรุในพระราชพิธีปรากฏให้เห็นแล้วในปัจจุบัน และไม่สามารถรื้อฟื้นหรือประกอบสร้างอาคารที่เคยมีในอดีต ณ ปัจจุบันได้อีก ทำให้ขอบเขตของผลงานสร้างสรรค์ คือ การสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมโดยภาพรวม ด้วยวิธีการนำเสนอภาพแผนผังพร้อมบทความนำเสนอองค์ความรู้ ตามระเบียบวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย โดยอาศัยองค์ความรู้และทักษะในด้านสถาปัตยกรรมไทยที่ต้องมุ่งเน้นศึกษารูปแบบ ลักษณะ และสัดส่วนตามหลักวิชาทางสถาปัตยกรรมไทย


บทคัดย่อ : แสดงแนวคิด และระเบียบวิธีการศึกษา

พระเมรุ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่รวมความเป็นเอกของสถาปัตยกรรมไทยและศิลปะที่เกี่ยวเนื่องในทุกๆ ด้าน เนื่องจากเป็นอาคารประกอบพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ ซึ่งต้องสะท้อนให้เห็นถึงพระราชอำนาจแห่งเทวราชาและคติความเชื่อด้านต่างๆ ถ่ายทอดออกมาเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่ต้องก่อสร้างและรื้อถอนได้เร็ว แต่ทว่าสามารถแสดงออกถึงแนวความคิดและการใช้สอยได้อย่างครบถ้วน และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องสมพระเกียรติยศ

ทั้งนี้ได้อ้างอิงถึงรูปแบบพระเมรุสมัยอยุธยาอันเป็นต้นเค้าของพระเมรุในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งถึงงานงานพระเมรุในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ซึ่งถือได้ว่าเป็นพระเมรุที่มีฐานานุศักดิ์สูงสุดหลังสุดท้ายที่ได้สร้างขึ้นบนกระบวนทัศน์แบบเก่า ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวอยู่บนเส้นทางการเปลี่ยนแปลง เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ทั้งทางกายภาพและกระบวนทัศน์ให้สอดรับกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง องค์ความรู้ใหม่ที่เริ่มต้นขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ และมีพัฒนาการไปอย่างรวดเร็วในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทำให้กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงได้แสดงออกอย่างเต็มภาคภูมิผ่านพระเมรุมาศของพระองค์

จากพระเมรุในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ถึงงานพระเมรุมาศในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระเมรุทั้ง ๒ องค์ถูกสร้างขึ้นเพื่อการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ซึ่งดำรงสถานภาพแห่งสมมติเทวราชสูงสุดทั้ง ๒ พระองค์ แต่รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของพระเมรุสำหรับประกอบพิธีกลับมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ การดังกล่าวจึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงไปที่เกิดขึ้นภายในสังคม ซึ่งได้ฉายผ่านพระเมรุที่แม้ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมฐานานุศักดิ์สูงก็ยังมีการรปรับตัวไปตามกระบวนทัศน์ที่แปรเปลี่ยนด้วย 


ภาพผลงาน

ผลงาน

- แผนผังสันนิษฐาน “พระเมรุเอก พระเมรุโท และพระเมรุตรี” สมัยอยุธยา

- แผนผังสันนิษฐาน “พระเมรุพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔”

- แผนผังสันนิษฐาน “พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕”

- เอกสารบทความ ประกอบการเผยแพร่ : “กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมเฉพาะกิจในพระเมรุจากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์

 


แผนผังสันนิษฐาน “พระเมรุเอก” สมัยอยุธยา

เผยแพร่ใน บทความพิเศษ หนังสือ “งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๐. หน้า ๒๕๕.”

เทคนิค การสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรม แผนภาพลายเส้น


แผนผังสันนิษฐาน “พระเมรุโท” สมัยอยุธยา

เผยแพร่ใน บทความพิเศษ หนังสือ “งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๐. หน้า ๒๕๖.”

เทคนิค การสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรม แผนภาพลายเส้น


แผนผังสันนิษฐาน “พระเมรุตรี” สมัยอยุธยา

เผยแพร่ใน บทความพิเศษ หนังสือ “งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๐. หน้า ๒๕๗.”

เทคนิค การสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรม แผนภาพลายเส้น


แผนผังสันนิษฐาน “พระเมรุพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔”

เผยแพร่ใน บทความพิเศษ หนังสือ “งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๐. หน้า ๒๖๕.”

เทคนิค การสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรม แผนภาพลายเส้น


แผนผังสันนิษฐาน “พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕”

เผยแพร่ใน บทความพิเศษ หนังสือ “งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๐. หน้า ๒๗๐.”

เทคนิค การสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรม แผนภาพลายเส้น

 

ผลสำเร็จของโครงการ
การนำไปใช้ประโยชน์ (ถ้ามี):

เป็นองค์ความรู้ที่ใช้ในการเผนแพร่องค์ความรู้งานพระเมรุ เนื่องในวาระงานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  โดยเป็นผลงานสร้างสรรค์ด้านสุนทรียะ ศิลปะ ในลักษณะ การสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยเฉพาะกิจชั้นสูง ที่มีเป็นอาคารชั่วคราวก่อสร้างและรื้อถอนเร็ว จึงมิหลงเหลืออาคารพระเมรุในพระราชพิธีปรากฏให้เห็นแล้วในปัจจุบัน และไม่สามารถรื้อฟื้นหรือประกอบสร้างอาคารที่เคยมีในอดีต ณ ปัจจุบันได้อีก ทำให้ขอบเขตของผลงานสร้างสรรค์ คือ การสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมโดยภาพรวม ด้วยวิธีการนำเสนอภาพแผนผังพร้อมบทความนำเสนอองค์ความรู้ ตามระเบียบวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย โดยอาศัยองค์ความรู้และทักษะในด้านสถาปัตยกรรมไทยที่ต้องมุ่งเน้นศึกษารูปแบบ ลักษณะ และสัดส่วนตามหลักวิชาทางสถาปัตยกรรมไทย