หลักสูตรปริญญาตรี
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้เปิดการเรียนการสอนทั้งสิ้น 2 หลักสูตร 4 สาขาวิชา
หลักสูตรระดับปริญญาตรี
- หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.), 5 ปี (ได้รับการรับรองจากสภาสถาปนิกแล้วเรียบร้อย)
- หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (สถ.บ.) 5 ปี
- หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน (สถ.บ.) 5 ปี
- หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) , 4 ปี
- หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.), 4 ปี สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ
- หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.), 4 ปี สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
ชื่อปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (5 ปี)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา : สถ.บ. (สถาปัตยกรรม)
ปรัชญาของหลักสูตร : “สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมโดยคำนึงถึงบริบท สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและการประยุกต์ใช้วัสดุในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม ในสถานการณ์ร่วมสมัยและมีศักยภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้”








วัตถุประสงค์
- มีความรู้และความสามารถในการออกแบบและการจัดการงานสถาปัตยกรรมอย่างสร้างสรรค์สอดคล้องกับบริบทที่เกี่ยวข้องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- มีความสามารถในการเรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพและเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง
- มีความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูดการเขียนการนำเสนองานออกแบบสถาปัตยกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยเฉพาะวัสดุท้องถิ่นที่ใช้ก่อสร้างในกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมได
- เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาการและวิชาชีพ
- มีมนุษยสัมพันธ์บุคลิกภาพและมารยาทที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
แนวทางการประกอบอาชีพ
- สถาปนิก นักออกแบบ นักเขียนแบบ ผู้ควบคุมงานการก่อสร้าง
- ผู้ประมาณราคาและประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเหมาก่อสร้าง
- นักธุรกิจด้านการออกแบบ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย
- นักวิชาการ นักวิจัยงานด้านสถาปัตยกรรม
ค่าธรรมเนียมในการศึกษา
- ภาคเรียนปกติ 21,000 บาท (ต่อภาคการเรียน)
- ภาคเรียนฤดูร้อน 10,500 บาท (ต่อภาคการเรียน)
การทัศนศึกษา
- การทัศนศึกษาต่างประเทศ ทัศนศึกษาสถาปัตยกรรมในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเก๊า ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย หรือฮ่องกง
- การทัศนศึกษาในประเทศ พื้นที่ภาคกลาง ( กรุงเทพ อยุธยา ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี )
- การทัศนศึกษาในประเทศ พื่นที่ภาคเหนือ (สุโขทัย ลำปาง และเชียงใหม่)
รายละเอียดหลักสูตร
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
ชื่อหลักสูตร : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
ชื่อปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (5ปี)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา : สถ.บ. (สถาปัตยกรรมภายใน)
ปรัชญาของหลักสูตร : “วิชาชีพสถาปัตยกรรมภายในสําคัญล้ำค่า ส่งเสริิมมรดกภูมิปัญญางานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สืบสานสร้างสรรค์งานศิลป์ จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสู่ระดับสากล”








วัตถุประสงค์
มีความรู้ ความสามารถ และมีความรอบรู้สามารถประยุกต์แนวความคิดจากการนําองค์ความรู้ภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในพื้นถิ่นนำใช้ในการสร้างสรรค์งโดยคํานึงถึงหน้าที่ใช้สอยและสุนทรียภาพที่เหมาะสมบนพื้นฐานที่สอดคล้องกับการคํานึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีความรู้ความสามารถพื้นฐานในวิชาชีพทั้งทางด้านการออกแบบ การวางผัง และการวางแผน ในสาขาวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมภายในและมีความพร้อมที่จะเข้าสู่ระบบฝึกปฎิบัติจริง มีความรู้ในการคิดเชิงวิเคราะห์มีความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการปฎิบัติวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมภายใน มีคูุณธรรมจริยธรรมมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพเป็นผู้มีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม
แนวทางการประกอบอาชีพ
- มัณฑนากร นักเขียนแบบ นักออกแบบสถาปตยกรรมภายใน
- นักธุรกิจด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน
- ผู้รูับเหมาก่อสร้างงานสถาปตยกรรมภายใน
- นักออกแบบเครื่องเรือน นักออกแบบแสงสว่าง
- นักออกแบบนิทรรศการ นักออกแบบกราฟิก
- นักวิชาการด้านสถาปัตยกรรมภายใน
ค่าธรรมเนียมในการศึกษา
- ภาคเรียนปกติ 21,000 บาท (ต่อภาคการเรียน)
- ภาคเรียนฤดูร้อน 10,500 บาท (ต่อภาคการเรียน)
การทัศนศึกษา
- การทัศนศึกษาภาคเหนือ ศึกษาสถาปัตยกรรมภายใน ณ ลำปาง ลำพูนเชียงราย เชียงใหม่ เช่น สถาปัตยกรรมในอาคาร วัด วิหาร สถาปัตยกรรมพื่นถิ่น ร้านเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน รีสอร์ทโรงแรม
- การทัศนศึกษาภาคกลาง ศึกษาสถาปัตยกรรมภายใน ณ กรุงเทพ อยุธยา ชลบุรี สถาปัตยกรรมในอาคาร วัด อาคารสำนักงาน ศูนย์การเรียนรู้ ร้านเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน รีสอร์ท โรงแรม วัสดุและเทคโนโลยีภายในอาคาร
รายละเอียดหลักสูตร
ศิลปะและการออกแบบ
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ
ชื่อปริญญา : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศิลปะและการออกแบบ)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา : ศป.บ. (ศิลปะและการออกแบบ)
ปรัชญาของหลักสูตร : “พัฒนาการเรียนรู้จากความถนัดและความสนใจส่วนบุคคล เปิดโลกทัศน์ผ่านการศึกษาดูงาน วิเคราะห์-วิพากษ์-วิจารณ์ กระบวนการการคิดอย่างสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมกับชุมชนเชื่อมโยงกับบริบทอันหลากหลายในท้องถิ่น”








วัตถุประสงค์
มีคุณธรรม จริยธรรมจิตสานึกสาธารณะในสาขาวิชาชีพทางศิลปะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคม มีความรู้ในหลักของฐานศาสตร์ทางศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อประกอบอาชีพได้ มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินคุณค่าทางสุนทรียะได้อย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการทางานรวมกับผู้อื่นและมีทักษะในการจัดการทางศิลปกรรม สามารถสื่อสารและนาเสนอแนวความคิดที่เป็นรูปธรรม ผ่านผลงาน ทางศิลปกรรม สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารและใช้ เทคโนโลยีได้ดี สามารถแสดงออกและพัฒนาทักษะทางศิลปะได้ตามความถนัดและ ความสามารถเฉพาะตน
แนวทางการประกอบอาชีพ
- นักออกแบบ ได้แก่ การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ / บรรจุภัณฑ์ / กราฟิก / เครื่องประดับ/ สิ่งทอ /เครื่องปั้นดินเผา/สื่อ
- ผู้ประกอบการในสายศิลปะและการออกแบบ
- พนักงานหน่วยงานราชการตามกรอบคุณวุฒิการศึกษา
- บุคลากรทางการศึกษา (โดยอาจต้องศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูเพิ่มเติม หลังสาเร็จการศึกษาหลักสูตร นักวิชาการ และที่ปรึกษาด้านศิลปกรรม ศิลปิน
ค่าธรรมเนียมในการศึกษา
- ภาคเรียนปกติ 21,000 บาท (ต่อภาคการเรียน)
- ภาคเรียนฤดูร้อน 10,500 บาท (ต่อภาคการเรียน)
การทัศนศึกษา
- พื่นที่ภาคกลาง ณ หอศิลป์ ศูนย์การเรียนรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ กรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์ด้านการออกแบบ TCDA (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ) ณ กรุงเทพ อยุธยาประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี)
- พื่นที่ภาคเหนือ ณ หอศิลปะวัฒนธรรม หอผิ่น หอศิลป์เมืองเชียงราย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบภาคเหนือ (เชียงราย ลำปาง และเชียงใหม่) ในด้านศิลปะและการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ / บรรจุภัณฑ์ / กราฟิก /เครื่องประดับ/ สิ่งทอ /เครื่องปั้นดินเผา/สื่อ และศิลปกรรม
รายละเอียดหลักสูตร
ดนตรีและนาฎศิลป์
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีและนาฎศิลป์
ชื่อปริญญา : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา : ศป.บ. (ดนตรีและนาฎศิลป์)
ปรัชญาของหลักสูตร : “ดนตรีและนาฏศิลป์ ศาสตร์แห่งการสร้างคน สร้างงาน สร้างสุนทรียะ บูรณาการภูมิปัญญา วิชาการ วิชาชีพสู่สังคม”








วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตบัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านดนตรีและนาฏศิลป์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติและสามารถสร้างสรรค์ผลงานบูรณาการความรู้เป็นศาสตร์แขนงต่างๆเพื่อประโยชน์ในทางศิลปกรรมศาสตร์และสามารถนาไปประกอบอาชีพและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น พื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรมจิตสำนึกสาธารณะ ในสาขาวิชาชีพทางศิลปะปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมทั้งต่อตนเองเพื่อร่วมงานและมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยและสากลและพร้อมที่จะอนุรักษ์ส่งเสริมพัฒนาแสวงหาองค์ความรู้สร้าง สรรค์และประยุกต์ให้สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทย มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินคุณค่าทางสุนทรียะได้อย่างมีจิตวิญญาณ มีความสามารถในการทางานร่วมกับผู้อื่นและมีทักษะในการจัดการทางดนตรีและนาฏศิลป์ สื่อสารและนำเสนอแนวความคิดผ่านผลงานทางดนตรีและนาฏศิลป์
แนวทางการประกอบอาชีพ
- ศิลปิน บุคลากรทางการศึกษา
- นักวิจัยและนักวิชาการ ธุรกิจและอุตสาหกรรมดนตรีและนาฏศิลป์
- อาชีพอิสระ เช่น ผู้สร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์ นักประพันธ์เพลง นักเรียบเรียงเสียงประสาน ผู้ปรับวงดนตรีสากลและวิทยากรทางด้านดนตรี
ค่าธรรมเนียมในการศึกษา
- ภาคเรียนปกติ 18,000 บาท (ต่อภาคการเรียน)
- ภาคเรียนฤดูร้อน 9,000 บาท (ต่อภาคการเรียน)
การทัศนศึกษา
- พื้นที่ภาคกลาง ณ หอศิลปะและวัฒนธรรม หอศิลป์ ศูนย์การเรียนรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์ โรงละครหุ่นละครเล็ก พิพิธภัณฑ์ด้านดนตรีและนาฏศิลป์ โรงละครหรือสถาบันด้านดนตรีและนาฏศิลป์ โรงละครและศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- พื้นที่ภาคเหนือ ณ หอศิลปะวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ โบสถ์ ศูนย์การเรียนรู้ด้านศิลปะการแสดง ดนตรีพื้นเมืองล้านนา พิพิธภัณฑ์ด้านดนตรีและนาฏศิลป์ พื้นที่ชุมชนในจังหวัดพะเยาชุมชนไทลื้อ เชียงคำ พะเยา
รายละเอียดหลักสูตร