ARCHITECTURE
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Bachelor of Architecture
ชื่อปริญญา
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Architecture
ชื่อย่อ
สถ.บ. (สถาปัตยกรรม)
B.Arch. (Architecture)
ปรัชญาของหลักสูตร
สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยคำนึงถึงบริบทและการประยุกต์ใช้วัสดุ ในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ร่วมสมัยและมีศักยภาพในการทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้
วัตถุประสงค์
1. มีความรู้และความสามารถในการออกแบบและการจัดการงานสถาปัตยกรรมอย่างสร้างสรรค์สอดคล้องกับบริบทที่เกี่ยวข้องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2. มีความสามารถในการเรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการวิชาชีพ และเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง
3. มีความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูดการเขียนการนำเสนองานออกแบบสถาปัตยกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยเฉพาะวัสดุท้องถิ่นที่ใช้ก่อสร้างในกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมได
5. เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาการและวิชาชีพ
6. มีมนุษยสัมพันธ์บุคลิกภาพและมารยาทที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
รายละเอียดหลักสูตร
จุดเด่นของหลักสูตร
1. การเรียนรู้จากชุมชน เช่น การเรียนรู้บ้านดิน ไม้ไผ่
2. การแก้ไขปัญหาและการเรียนรู้จากบริบทและชุมชน
3. BIM (Building Information Modeling)
4. การเขียนแบบด้วยมือและคอมพิวเตอร์
5. การประยุกต์ใช้วัสดุพื้นถิ่นในงานสถาปัตยกรรม
ปีละ 2 ภาคการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1 - 21,000 บาท
ภาคการศึกษาที่ 2 - 21,000 บาท
การทัศนศึกษาต่างประเทศ
ทัศนศึกษาสถาปัตยกรรมในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเก๊า ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย หรือฮ่องกง
การทัศนศึกษาในประเทศ
พื้นที่ภาคกลาง ( กรุงเทพ อยุธยา ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี ) พื่นที่ภาคเหนือ (สุโขทัยลำปาง และเชียงใหม่) ในด้านสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมล้านนา วัสดุการก่อสร้าง การก่อสร้าง และเทคโนโลยีอาคาร โครงสร้างสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม
อาจารย์หลักสูตรสถาปัตยกรรม
อาจารย์ อรทัย มหาวรรณ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัศนัย เล่งอี้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัมเรศ เทพมา
อาจารย์ วณิชญา ถนอมพลกรัง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันธพัฒน์ บุญมา
อาจารย์ภัคธิมา วังยาว
อาจารย์ สาวิตรี นุกูล
อาจารย์ อาริสรา นุกูล
อาจารย์ สุธี เมฆบุญส่งลาภ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรินทร์ รวมสำราญ
อาจารย์ ปัณณพงศ์ กุลพัฒน์เศรษฐ
อาจารย์ ปณิธาน ประมูล
อาจารย์ ดุจฤดี มรรคประเสริฐ
อาจารย์ เกียรติศักดิ์ ใสสอาด
Q : ทำไมถึงต้องเรียนหลักสูตรสถาปัตยกรรม ม.พะเยา ?
A : สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมจากภูมิปัญญาพื้นถิ่น คำนึงถึงบริบททั้งทางกายภาพและสังคมวัฒนธรรม และสามารถประยุกต์ใช้วัสดุในท้องถิ่นนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ร่วมสมัย ทั้งยังมีศักยภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
Q : เรียนจบสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.พะเยา แล้วทำงานเกี่ยวสายงานไหนได้บ้าง ?
A : สถาปนิก นักออกแบบ นักเขียนแบบ ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ผู้ประเมินราคาและประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเหมา นักธุรกิจด้านออกแบบ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย นักวิชาการ นักวิจัยด้านสถาปัตยกรรม