คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ เดิมเป็นสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ สังกัดสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา และต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ จึงได้แยกตัวเป็นส่วนงานวิชาการใหม่ในชื่อ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เปิดสอนหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณทิต ในสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นการเรียนการสอนแบบ 2 ภาคการศึกษา ณ อาคาร ที่ทำการชั่วคราวคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์อาคารเรียนรวมหลังเก่า (ภูกามยาว) และต่อมาเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ได้ย้ายที่ทำการสำนักงานคณะจากอาคารเรียนรวมหลังเก่า (ภูกามยาว) มาเป็นอาคารหลังปัจจุบัน ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรและเปิดรับหลักสูตรเพิ่ม ดังนี้
1. หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต มี 2 สาขาวิชา
1. สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ (เดิมหลักสูตรออกแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์) เปิดรับนิสิตในปี 2555
2. สาขาวิชาศิลปะการแสดง เปิดรับนิสิตในปี 2558 (ปัจจุบันเป็นหลักสูตรดนตรีและนาฏศิลป์ โดยควบรวมกับหลักสูตรดุริยางคศาสตรสากลบัณฑิต)
2. หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต มี 2 สาขาวิชา
1. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม เปิดรับนิสิตในปี 2555
2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน เปิดรับนิสิตในปี 2558
3. หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต มี 1 สาขาวิชา
1. สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล เปิดรับนิสิตในปี 2555 (ปัจจุบันเป็นหลักสูตรดนตรีและนาฏศิลป์ โดยควบรวมกับหลักสูตรดุริยางคศาสตรสากลบัณฑิต) ในปี 2563 ได้เปิดหลักสูตรร่วมกับวิทยาลัยการศึกษา ในหลักสูตรปริญญาตรีคู่ขนาน หลักสูตร 4 ปี หลักสูตรการศึกษาบัณฑิตและศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์)
หลักสูตรการศีกษา
ปัจจุบัน คณะสถาปัตยกรรมศาตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จัดการเรียนการสอน 2 หลักสูตร ใน 4 สาขาวิชา ได้แก่
หลักสูตรระดับปริญญาตรี
- หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.), 5 ปี
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.), 5 ปี
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) , 4 ปี
- สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.), 4 ปี สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์
สีและสัญลักษณ์
สีประจำคณะ คือ สีเงิน
ตราสัญลักษณ์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์
เป็นการออกแบบโดยใช้อักษร ส - ศ ซึ่งเป็นตัวอักษรย่อออกแบบให้ผสานอยู่ในตัวเดียวกัน เป็นการผสานความรู้ด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมเข้ากับชุมชนพื้นถิ่น |
ผู้เยี่ยมชม: 1762 ครั้ง
อัพเดตเมื่อ: 11 เม.ย. 2564 - 23:22 น.