คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
บ้านแห่งการเติมเต็ม (Fill Up House)

ดุจฤดี มรรคประเสริฐ

ประเภทผลงาน: ผลงานสร้างสรรค์
แหล่งทุน: -
จำนวนเงินทุน: -
การเผยแพร่ผลงาน: นิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 3 “สถาปัตย์นิทรรศน์” (3rd Architecture & Design Exhibition 2019) ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร
วันที่เผยแพร่: วันที่ 25-29 ธันวาคม 2562
ระดับการเผยแพร่: -
ลิงก์ข้อมูล: -
ฐานข้อมูล: -
รายนามร่วม:
บ้านแห่งการเติมเต็ม (Fill Up House)

แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน

          ย่านชุมชนหนองระบูเป็นย่านชุมชนเก่าที่เป็นชุมชนแห่งความทรงจำของเมืองพะเยา มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวจีนและชาวต่างชาติในอดีต มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีโบราณสถานโดยรอบอยู่ในเขตเมืองเก่า ลักษณะเป็นชุมชนตลาดและการค้า ในย่านยังคงมีงานสถาปัตยกรรมรูปแบบอาคารพาณิชย์ในอดีตอยู่ อาคารเป็นเรือนแถวไม้สองชั้น ชั้นล่างเพื่อการค้าขาย ชั้นบนเพื่อพักอาศัย มีรูปแบบของฝาผนังที่โดดเด่นแบบตีซ้อนเกล็ด และราวระเบียงที่มีความสวยงาม รวมถึงบ้านบางหลังยังคงใช้รั้วไม้แบบโบราณอยู่ ดังนั้นบริบทในย่านจึงเป็นแรงบันดาลใจสำหรับการออกแบบบ้านใหม่บริเวณนี้ด้วยแนวความคิดการออกแบบบ้านให้เป็นรูปแบบตึกแถวที่ใช้อยู่อาศัยและทำธุรกิจขายไอศกรีมไปด้วยในตัว โดยรักษาอัตลักษณ์ของความเป็นถิ่นที่ คือ ชุมชนชาวต่างชาติในอดีต ลักษณะงานสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างประเทศ และวิถีชีวิตสมัยใหม่ จึงนำแนวความคิดการรำลึกถึงอดีต ( Nostalgia ) มาใช้ออกแบบบ้าน จากประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานสันนิษฐานว่าการเกิดตึกแถวในจังหวัดพะเยาเกิดขึ้นหลังปีพ.ศ. 2407 เป็นต้นมา ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงเปลี่ยนรัชสมัยเข้าสู่รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีพ.ศ. 2411-2453 บ้านเมืองมีการปฏิรูปให้ทันสมัยทัดเทียมกับอารยประเทศ ทำให้ช่วงนั้นประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวัฒนธรรมจากประเทศอิตาลีที่เป็นแบบแผนคลาสสิกจากยุคกรีก-โรมันที่แพร่หลายไปทั่วโลก ทั้งงานสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตของประชาชน การเลือกบ้านแบบทัสคานี (Tuscany) ในประเทศอิตาลีจึงเป็นการตอบโจทย์ที่เจ้าของบ้านต้องการเพื่อการอยู่อาศัย ทำธุรกิจและรำลึกถึงความเป็นถิ่นที่ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมชุมชนเขตเมืองเก่าให้เป็นย่านสร้างสรรค์สำหรับทุกคนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนและเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับเมืองอีกด้วย


 ภาพผลงาน

 

ผลสำเร็จของโครงการ
การนำไปใช้ประโยชน์ (ถ้ามี):
  1. กรณีศึกษาบ้านพักอาศัย 2 ชั้น ที่สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยสำหรับอยู่อาศัยและทำธุรกิจได้
  2. การออกแบบบ้านให้มีสุนทรียศาสตร์และมีรูปแบบย้อนยุคที่ชัดเจน
  3. การส่งเสริมย่านหนองระบูให้เป็นย่านอาหารการกินและเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา