คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
จินตภาพทางศิลปวัฒนธรรมในชุมชนชนบทของประเทศไทยกรณีศึกษา : อำเภอจุน จังหวัดพะเยา (Cultural image of local community in Thailand : Case study of Chun district in Phayao Province)

ดุจฤดี มรรคประเสริฐ

ประเภทผลงาน: ผลงานวิจัย
แหล่งทุน: งบประมาณรายได้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยพะเยา
จำนวนเงินทุน: -
การเผยแพร่ผลงาน: การจัดแสดงผลงานวิจัยในงาน Thailand Tech Show 2018 “เสริมแกร่งธุรกิจด้วยวิทย์และนวัตกรรม” กลุ่มสื่อการเรียน โดยหน่วยบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา (UP-TLO) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร / การนำเสนอผลงานวิจัยในกิจกรรม Thailand Research Expo : Symposium 2018 ภาคบรรยาย ระหว่างงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2561 (Thailand Research Expo 2018)” ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร
วันที่เผยแพร่: Thailand Tech Show 2018 วันที่ 4 – 8 กรกฎาคม 2561 / Thailand Research Expo: Symposium 2018 วันที่ 11 สิงหาคม 2561
ระดับการเผยแพร่: -
ลิงก์ข้อมูล: -
ฐานข้อมูล: -
รายนามร่วม:
จินตภาพทางศิลปวัฒนธรรมในชุมชนชนบทของประเทศไทยกรณีศึกษา : อำเภอจุน จังหวัดพะเยา  (Cultural image of local community in Thailand : Case study of Chun district in Phayao Province)

บทคัดย่อ

           ชุมชนชนบทของประเทศไทยในปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากจากกระแสความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมที่พบมากในพื้นที่ชนบทของประเทศ ซึ่งถือเป็นแหล่งกำเนิดศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์ไว้ เนื่องจากรากฐานทางวัฒนธรรมของสังคมชนบทไทยเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมข้าว ประชาชนมีอาชีพทำนาเป็นหลักทำให้รูปแบบวัฒนธรรมชุมชนสอดคล้องกับแหล่งทำมาหากิน ถึงแม้ว่าศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมเริ่มจางหายตามการเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคสมัยกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมที่ผสมผสานกับความเป็นสมัยใหม่มากขึ้น จึงเป็นที่มาของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ปรากฏในสังคมไทยทุกวันนี้ ดังนั้นการสำรวจและการวิจัยจินตภาพทางศิลปวัฒนธรรมในชุมชนชนบทของประเทศไทยนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีงามต่อไปในอนาคต โดยมีระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษารูปแบบภูมิทัศน์เมืองที่สัมพันธ์กับศิลปวัฒนธรรมของชุมชน การวิจัยกรณีศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอจุน จังหวัดพะเยาทำให้เห็นภาพลักษณ์ของชุมชนชนบทในประเทศไทยได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งถิ่นฐาน ศิลปวัฒนธรรมหรือรูปแบบวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนที่มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมสู่ความเป็นสังคมเกษตรกรรมร่วมสมัย และบริบทของชุมชนมีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่องสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมไปถึงการเป็นชุมชนตัวอย่างแห่งการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศ การวิจัยจึงเป็นการสำรวจพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมจินตภาพทางศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นในอำเภอจุนที่ถ่ายทอดผ่านทางภูมิทัศน์เมืองในหลากหลายมิติ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนในชนบทของประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป 

 

คำสำคัญ: จินตภาพ,การพัฒนาชนบท,อำเภอจุน จังหวัดพะเยา

 


Abstract

           Local communities in Thailand have been dramatically developed by various currents of high technology fields in present. Especially, agricultural development in local areas of country is the main issue for conserving the worth art and cultural birthplaces. According to the complete rice culture of Thai local society, it creates the pattern of community culture for farmer’s lifestyle. However, the rice art and culture have been disappeared by each period change and more blended with modernity. They bring to the contemporary rice art and culture in Thai local societies nowadays. Therefore, cultural image research of local community in Thailand is the guidelines for rehabilitating the perfect locations in the next generations. The research methodology has studied the cultural landscapes with community arts and cultures. The case study of Chun district in Phayao Province dominantly presents the local cultural image of Thailand in settlement, culture or lifestyle transformed from native agricultural society to contemporary agricultural society. Moreover, the community context has potential to the continuous development as community library in economy, social and environment including Thai sustainable economic community model. In these reasons, the research aims to the promotion of Chun cultural image through cultural landscape in different dimensions for the future of Thai local sustainable communities.  

 

Keywords: Cultural image, Local development and Chun district, Phayao

 


ภาพผลงาน

 

ผลสำเร็จของโครงการ

การส่งเสริมการบริการวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน และส่งเสริมให้ประชาชนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นอันดีงามและสืบทอดต่อไป

การนำไปใช้ประโยชน์ (ถ้ามี):