พันธพัฒน์ บุญมา
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในที่พักอาศัย โดยศึกษาในพื้นที่ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์คือศึกษาทางกายภาพ พื้นที่กิจกรรม และการพลัดตกหกล้ม รวมถึงแนวทางการลดความเสี่ยงการพลัดตกหกล้มในที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสำรวจและแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการศึกษามีดังนี้ ผู้สูงอายุมีสุขภาพค่อนข้างแข็งแรง มีการใช้ยาเป็นประจำ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาทางสายตา อุบัติเหตุในที่พักอาศัยพบว่าเกิดจากสภาวะหน้ามืด โดยสถานที่ที่เกิดเหตุมากที่สุดคือที่ห้องนั่งเล่น ห้องครัว ตามลำดับ และเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือช่วงเวลา 8.00–15.00 น. การอยู่อาศัยส่วนใหญ่จะอยู่กับบุตรหลาน รูปแบบบ้านส่วนใหญ่เป็นปูนชั้นเดียว และผู้สูงอายุจะพักอาศัยอยู่ชั้นล่างของบ้าน เตียงจะมีลักษณะติดผนังด้านหนึ่งและโล่งด้านหนึ่ง มีหน้าต่างอยู่บริเวณด้านข้างของที่นอน ห้องน้ำโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในตัวบ้าน โดยโถส้วมแบบนั่งราบและแบบนั่งยองมีจำนวนใกล้เคียงกัน พื้นที่นั่งเล่นและรับแขกส่วนใหญ่จะใช้เก้าอี้นั่ง ห้องครัวส่วนใหญ่จะอยู่ในบ้าน และพบว่ามีการใช้เตาถ่าน(ตั้งกับพื้น) พื้นของบ้านส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่แข็งแรง โดยพื้นที่มีแป้งฝุ่น(ทาตัว)หรือทรายทำให้เกิดการลื่นมากที่สุด ส่วนพื้นที่ต่างระดับจะทำให้เกิดการสะดุดมากที่สุด พื้นบ้านที่มีสิ่งของรกรุงรังทำให้หกล้มมากที่สุด และบ้านส่วนใหญ่จะมีราวจับบันได
จะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมในที่พักอาศัยที่มีผลต่อความเสี่ยงมีความแตกต่างหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งานรวมถึงสภาพบริบทของที่พักอาศัย ดังนั้นการจัดเตรียมสภาพที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ โดยคำนึงถึงรูปแบบลักษณะการใช้งานจริง รวมถึงข้อจำกัดที่พบในการใช้งาน จะทำให้เราทราบปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งนำไปสู่แนวทางแก้ไขที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพื้นที่รวมถึงข้อจำกัดของแต่ละบุคคล เพื่อลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่อุบัติเหตุในการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุในที่พักอาศัยได้
Abstract
The research deals with the study of the elders’ falls in the residence in which the location is Maeka sub district, Muag district, Phayao aiming at studying physical aspect, activity area, and the falls, including a guideline to reduce the risk in falls of the elders in the residence. The research tool employed is a questionnaire. Findings are summarized as follows: The elders are rather strong and healthy with regular medicine and most of them have eyesight problem. The accident in the residence is caused by faint and location where accidence taking place is a living room and kitchen respectively. Most of accident occur between 8 a.m. to 3 p.m. The elders mostly live with their children in ground base of a single- storied house. A bed is attached to the wall and a another side is open with a window near the side of a bed. Most bathrooms are in the house. The number of sitting toilets and squatting latrine are similar in number. Chairs are used in most sitting and reception areas. Most kitchens are in the house. Charcoal stove (on floor) is also used. The floor of most houses is built from a strong material. The area with loose powder or sand causes the most slippery. Different levels cause the most stumbling. The floor with clutter causes the most falls. Besides, most houses have railings. This can be seen that the environment in the residence affecting the risk varies in many ways, depending on usage behavior, including the context of the accommodation. Therefore, the preparation of the living conditions of the elderly, taking into account the form of use and the limitations found in use will make us aware of the problems leading to suitable and consistent with the area. This includes individual limitations in order to reduce the risk of fall in the elderly person in a shelter
เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการระดับชาติ อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2