คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การพัฒนาแหล่งทรัพยากรและกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม (สถาปัตยกรรม) ลำพูน และแพร่

อัมเรศ เทพมา

ประเภทผลงาน: ผลงานวิจัย
แหล่งทุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
จำนวนเงินทุน: -
การเผยแพร่ผลงาน: การประชุมวิชาการ 12th Built Environment Research Associates Conference, BERAC 2021, 2021, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บทความที่ 020
วันที่เผยแพร่: 28 มิถุนายน 2564
ระดับการเผยแพร่: -
ลิงก์ข้อมูล: -
ฐานข้อมูล: -
รายนามร่วม: สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี,ชินวร ชมภูพันธ์,
การพัฒนาแหล่งทรัพยากรและกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม (สถาปัตยกรรม) ลำพูน และแพร่

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทางกายภาพแหล่งทรัพยากรทางการท่องเที่ยวด้านสถาปัตยกรรมและแนวทางจัดกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมในเขตอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม(สถาปัตยกรรม) ลำพูนและแพร่ โดยมีกลุ่มอาคารตัวอย่างการวิจัยที่มีความสำคัญระดับชาติและระดับจังหวัดมาใช้ดำเนินการวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์ตามแนวทางของกฎบัตรบูรา ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่ามรดกวัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรมมีความสำคัญอยู่ในระดับสูงทั้งด้านพื้นที่และอาคารสถาปัตยกรรม แต่ขณะเดียวกันได้แสดงให้เห็นถึงระดับความเสียหายของอาคารสถาปัตยกรรมที่พบว่ามีระดับไล่เรียงจากระดับน้อยมากถึงระดับมากที่สุด ในด้านของความเร่งด่วนในการดูแลรักษาพบว่าได้แสดงระดับความเร่งด่วนไล่เรียงจากระดับน้อยไปถึงระดับมากที่สุดซึ่งผลการศึกษาที่มีความแปรผันตามกันได้ส่งผลต่อแนวทางการสร้างแผนพัฒนาทางกายภาพแหล่งทรัพยากรทางการท่องเที่ยวภายใต้ 4 แผนงาน คือ  แผนที่ 1 แผนบำรุงซ่อมแซมรักษาสภาพอาคาร แผนที่ 2 แผนเสริมความแข็งแรงแก่อาคาร แผนที่ 3 แผนการปรับปรุงและบำรุงรักษาอาคาร  แผนที่ 4 แผนการสร้างใหม่ สำหรับแนวทางการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมพบว่าสามารถจัดกิจกรรมโดยวางแผนที่เน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มบริษัท องค์กร กลุ่มสถาบันการศึกษาในประเทศและต่างประเทศกลุ่มเอเชียแปซิฟิก กลุ่มสมาคม ชมรม บริษัทนำเที่ยวและเอเยนต์การท่องเที่ยวภายใต้การจัดทำแผนกิจกรรมจำนวน 4 แผนงาน ประกอบด้วย (1) แผนส่งเสริมการเรียนรู้ด้านมรดกวัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรมและพื้นที่เมืองเก่า (2) แผนการเชื่อมโยงแหล่งและกิจกรรมการท่องเที่ยว (3) แผนสนับสนุนการดูแลรักษาอาคารทรงคุณค่าตามมาตรฐานอนุรักษ์สากล (4) แผนส่งเสริมการสร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วม

คำสำคัญ: แหล่งทรัพยากรและกิจกรรม, เขตอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมสถาปัตยกรรม, การท่องเที่ยว


Abstract

The objective of this research study is physical development of architectural tourism resources and appropriate activity management approaches for participatory tourism activities in Lamphun and Phrae of Architectural cultural heritage areas. The research sample used buildings of national and provincial importance were carried out to conduct comparative analysis to be used as a conservation guideline in accordance with the Bura Charter guidelines. The results of the study show that the architectural heritage is important in High level in both of area and architecture building. Meanwhile, it shows the damage level of architectural buildings found to be graded from very low to strongest. In terms of maintenance urgency, it was found that the level of urgency from the lowest to the highest level, in which the results of the studies that is correlate and influence to create the building physical development plan on 4 plans Include, Plan 1 building maintenance plan, Plan 2 building strengthening plan, Plan 3 building renovation and maintenance plan, and Plan 4 new construction plan. For guidelines to organizing the suitable activities of participation tourism, it was found that planned activities focused on cultural tourism groups. Group of companies and organizations, Group of domestic and international educational institutions, Asia Pacific group, association group, travel agency and travel agency. It is under the preparation of 4 activities plan include Plan 1 a plan to promote learning about cultural heritage, architecture and old city areas, Plan 2 plan to link to source and tourism activities Plan 3 plan to support the maintenance of buildings according to international conservation standards and Plan 4 plan to promote the creation of tourism activities by participation in the community.

ผลสำเร็จของโครงการ

นำเสนอในที่ประชุมวิชาการจำนวน 1 ครั้ง

การนำไปใช้ประโยชน์ (ถ้ามี):