ปรียาชนก เกษสุวรรณ
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยการพัฒนาชุมชนไทลื้อ อ.เชียงคำ ด้วยนวัตกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อคุณภาพชีวิต และรองรับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรม สร้างนวัตกรรม เพื่อเป็นแนวทางในสำหรับแผนพัฒนาชุมชนสำหรับท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่อพยพมาอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดพะเยา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรมจาก 4 หมู่บ้านในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา วิเคราะห์ข้อมูลแล้วจึงออกแบบสร้างสรรค์ผลงานเพอชุมชนได้ใช้เป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพ และส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบการวัฒนธรรมในชุมชน สร้างโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่เพื่อต่อยอดชุมชนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและสร้างนวัตกรชุมชนต่อไป
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรมแบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1) กลุ่มการแสดงวัฒนธรรม 2) กลุ่มผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม 3) กลุ่มพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ชุมชน คือกลุ่มผู้ประกอบการหลักที่สามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้จากงานวิจัย สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การพัฒนากระบวนการจัดการและถ่ายทอดคุณค่าทางวัฒนธรรม เพื่อศักยภาพในการเข้าถึงของนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยหลังวิกฤตการณ์โควิด และสร้างความน่าจดจำ นำไปสู่รายได้เสริมของชุมชน และเกิดแนวทางการจัดทำแผนพัฒนากระบวนการบริหารจัดการและถ่ายทอดคุณค่าวัฒนธรรมไทลื้อ เพื่อนำเสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนและส่งเสริมกิจกรรม งบประมาณ และโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต
Abstract
Tai Lue Community Development Research Project, Chiang Kham District with Cultural Innovations for Quality of Life and support cultural tourism. Its purpose is to study culture, innovate as a guideline for the local community development plan to improve the quality of life of the Tai Lue ethnic group who migrated to live in Phayao Province. Data were collected by interviewing cultural entrepreneurs from 4 villages in Chiang Kham District, Phayao Province. Analyze the data, then design and create works for the community to use as a model for their careers and promote cultural activities with the goal of improving the quality of life of cultural entrepreneurs in the community. Create opportunities to develop new products to extend the cultural tourism community and create community innovators.
The results showed that Cultural entrepreneurs are divided into 3 groups 1) cultural performance group 2) cultural product group 3) museum group. Community learning center is a group of key entrepreneurs who can utilize the knowledge from research able to apply knowledge to increase income from cultural tourism development of management processes and the transmission of cultural values for the potential to reach a new group of tourists that change. According to the era after the covid crisis and create memories leading to additional income for the community and came up with guidelines for formulating a plan to develop management processes and transfer the values of Tai Lue culture. To present to local government organizations to drive and promote activities, budgets and infrastructure in the future.
ภาพผลงาน
กลุ่มนักวิจัย กรรมการประเมินความก้าวหน้างานวิจัย และผู้ใช้ประโยชน์จาก งานวิจัย
ในวันนำเสนอความก้าวหน้ารอบ 6 เดือน วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- จำนวนนวัตกรรม 6 ชิ้นงานของนักวิจัยในชุดโครงการย่อย
- การจดทรัพย์สินทางปัญญา ประเภท สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์