สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ ได้บริการวิชาการในงานการประชุมวิชาการระดับชาติ “วิทยาศาสตร์วิจัย” ครั้งที่ 14
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ ได้บริการวิชาการในงานการประชุมวิชาการระดับชาติ “วิทยาศาสตร์วิจัย” ครั้งที่ 14 โดยกล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดยรองศาตราจารย์ ดร.ดิเรก ธีระภูธร รองอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยพะเยา ณ หอประชุมพญางำเมือง มหาวิทยาลัยพะเยา
สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ได้นำวงดนตรีนาฏศิลป์ร่วมสมัยที่บูรณาการองค์ความรู้ระหว่างดนตรีนาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนาและดนตรีนาฏศิลป์สากลที่จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรมาพัฒนาให้เกิดรูปแบบการแสดงร่วมสมัยภายใต้ แนวคิดการแสดง “แสงประทีปพลังแห่งจักรราศี” ซึ่งการแสดงได้รับแรงบันดาลใจจากพลังของจักรวาลวิทยา ที่ประสานความคิดแบบโลกตะวันตกและโลกตะวันออกที่มีรากร่วมความเป็นวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ร่วมกันผ่านคติความเชื่อของระบบโลกภูมิ อันมีแกนกลางของเขาพระสุเมรุ สื่อเป็น “สัตภัณฑ์” สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยพะเยาที่เรืองรองด้วยแสงประทีปแห่งปัญญา เปรียบกับการหลอมรวมพลังแห่งจักรราศีของเยาวชนไทยในการผนึกพลังปัญญาร่วมหมู่ ณ ที่นี้มหาวิทยาลัยพะเยา ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “วิทยาศาสตร์วิจัย” ครั้งที่ 14 อำนวยการแสดง : รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ บุณยรักษ์ และรองศาสตราจารย์จันทนี เพชรานนท์ ออกแบบและฝึกซ้อมการแสดง : รองศาสตราจารย์ นุชนาฏ ดีเจริญ, อาจารย์ ภูดิท ศิริวัฒนกุล และอาจารย์ ธนันยวรรณ ศรีทรัพโยทัย กำกับและออกแบบสื่อสมัยใหม่ประกอบการแสดง อาจารย์ ลิขิต ใจดี เรียบเรียงเสียงประสาน : อาจารย์ อัษฎาวุธ พลอยเขียว และอาจารย์ วรชา ออกกิจวัตร ดนตรีการแสดง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนะ ตาแปง และชมรมข่วงศิลป์ มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้แสดง : นิสิตสาขาดนตรีและนาฎศิลป์