25 ม.ค. 2567
ครั้งแรกกับการนำกระบวนการศิลปะด้านในมาใช้กับพื้นที่ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ขอขอบคุณ วิทยากรทั้ง2ท่าน คุณครู ภัควลัญชญ์ อังคเศกวิไล (ครูฝน) และ ผศ. อารยา รวมสำราญ ที่ร่วมแรงร่วมใจทำให้โครงการนี้สำเร็จ
ขอบขอบคุณ นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาที่เข้าร่วมโครงการนี้
ขอขอบคุณ โครงการศิลปะด้านใน และ สสส. ที่จุดประกายแรงบันดาลใจและถ่ายทอดองค์ความรู้แนวทางของมนุษยปรัชญา ที่สามารถนำมาปรับใช้กับนิสิตมหาวิยาลัยพะเยา
….”ในจักรวาลที่กว้างใหญ่ การมีอยู่ของเธอ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ การได้รู้จักความดี ความจริง ความงาม จะนำไปสู่การค้นพบตัวเธอเอง…
…ในหุบเขาที่มืดมิด คำตอบที่ค้นพบเหล่านั้น จะนำเธอไปสู่แสงสว่าง สิ่งที่เธอได้ค้นพบ จะเหวี่ยงเธอไปอยู่ในจุดที่ดี ที่จริง ที่งดงาม ในจักรวาลที่คู่ควรกับเธอ“…
(อารยา :2567)
….เชื่อมั่นว่าวงโคจรของพวกเราจะเวียนกลับมาพบกันอีกครั้งในโอกาสถัดไป
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้พบอุปสรรคที่ส่งผลต่อการเรียนของนิสิตเยาวชนวัยเรียน คือการมีสภาวะความเครียดความซึมเศร้า การขาดความเข้าใจตนเอง และไม่มีพื้นที่และกิจกรรมในการช่วยบำบัดเยียวยา สภาวะไม่พึงประสงค์เหล่านั้น โดยแต่ละปีการศึกษาจะมีปัญหาของสภาวะทางจิตใจของนิสิตที่เปราะบางจำนวนมากที่ขาดการโอบอุ้มปัดเป่าเยียวยา
ดังนั้นสถานภาพของสาขาสถาปัตยกรรมที่มีองค์ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ได้เล็งเห็นปัญหาสุจภาวะทางจิตใจของนิสิตที่เปราะบางว่าสามารถช่วยเยียวยาและบรรทาความทุกข์ ปัญหาของสภาวะทางจิตใจของนิสิตที่เปราะบางได้ ด้วยกระบวนการทางศิลปำบัดในการสร้างพื้นที่และกิจกรรมศิลปะบำบัดสำหรับนิสิตเยาวชนวัยเรียนขึ้น โดยสามารถพัฒนาเป็นกระบวนการศิลปะบำบัดและนำไปสู่การสร้างผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถอุ้มชูยกระดับจิตใจผู้มาปฏิบัติได้
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการแนวทางศิลปะบำบัดที่ทำความเข้าใจและโอบอุ้มด้านในจิตใจ สำหรับกลุ่มนิสิตเยาวชนวัยเรียน ในมหาวิทยาลัยพะเยา
2. ผลงานสร้างสรรค์ จากกระบวนการศิลปะบำบัด
ผู้เยี่ยมชม: 465 ครั้ง
หมวดหมู่: ด้านวิจัย
ภาพ: คณะวิทยากร โครการ
ข้อมูล/ข่าว: ผศ. วรินทร์ รวมสำราญ